ใบไม้เปลี่ยนสีที่อ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ( ดอยอ่างขาง ) เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อากาศบน ดอยอ่างขาง หนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง หนาว สิ่งที่พวกเราได้เห็นอย่างเด่นชัดคือ ใบเมเปิ้ล และใบ Momiji  ที่ทำการทดลองปลูก ในบริเวณพื้นที่โดยรอบ ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับได้สัมผัส ของฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) ที่พบเห็นได้ยากยิ่งในเมืองไทย

น้ำค้างแข็งตามพื้น มีให้พบเห็น

ใบเมเปิ้ลที่ร่วงหล่นตามพื้น 

ใบไม้ที่เปลี่ยนสี รอการร่วงหล่น เพื่อให้ใบใหม่ ได้เติบโตขึ้นมาแทน




ธรรมชาติของเมืองเชียงใหม่รอบนอก ยังคงความเป็นธรรมชาติ

และขาดไม่ได้ พระเอกของทางเหนือ พญาเสือโคร่ง ที่เริ่มออกดอกต้อนรับนักท่องเที่ยว





สถานที่น่าสนใจภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้แก่ 

  • สวนแปดสิบ (สวน80)

    สวนแปดสิบ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ซึ่งมีดอกไม้เมืองหนาวสีสันสดใส ประดับประดาอยู่มากมาย อันได้แก่ กะหล่ำแฟนซี ซึ่งมีทั้งสีขาว และสีม่วง, เยอบีร่า, รูบาร์ป, คริสต์มาส, เทียนแฟนซี, แซลเวีย และดอกไม้อื่น ๆ อีกมากมาย
  • สวนกุหลาบ
    สวนกุหลาบ เป็นที่รวบรวมกุหลาบมากมายหลายพันธ์ ส่วนใหญ่เป็นกุหลาบขนาดใหญ่ สวนกุหลาบตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของที่ทำการสถานีเกษตร ฯ
  • สวนบอนไซ
    สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
  • หมู่บ้านคุ้ม
    ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว



จุดชมวิวกิ่วลม 
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย 

หมู่บ้านนอแล 
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า 

หมู่บ้านขอบด้ง 
หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) 
บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็กๆ ด้วย 

หมู่บ้านหลวง 
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่ 

0 comments:

Post a Comment